4 กรกฎาคม 2550

เอกสารประกอบการบรรยาย

เอกสารประกอบการบรรยาย
คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
ประวัติรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ หลักทางปกครองของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริการสาธารณะ คำสั่งทางปกครอง นิติกรรมและสัญญาทางปกครอง การควบคุมอำนาจรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ นิติวิธีทางปกครอง กฎหมายเกี่ยวกับงานบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ของรายวิชา
3.1 นักศึกษาสามารถอธิบายประวัติรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้
3.2 นักศึกษามีความเข้าใจและอธิบายถึงหลักทางปกครองของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริการสาธารณะ คำสั่งทางปกครอง นิติกรรมและสัญญาทางปกครอง การควบคุมอำนาจรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ นิติวิธีทางปกครอง กฎหมายเกี่ยวกับงานบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นได้
3.3 นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิชากฎหมายสำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ไปใช้ในการปฏิบัติงานในองค์กรท้องถิ่นได้
เนื้อหา
ประกอบด้วยเนื้อหา 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ทฤษฎีทั่วไปว่าด้วยกฎหมายการปกครองท้องถิ่น
ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย
บทที่ 1 หลักการจัดระเบียบราชการบริหาร : พื้นฐานของการปกครองท้องถิ่น
1. รูปของรัฐกับการจัดระเบียบราชการบริหาร
องค์ประกอบของรัฐ
ดินแดน
ประชากร
อำนาจอธิปไตย
รัฐบาล
ประเภทของรัฐ 2 รูปแบบ
รัฐเดี่ยว
รัฐรวม
2.1 รัฐรวมสองรัฐ
2.1.1 รัฐรวมที่มีประมุขร่วมกัน
2.1.2 รัฐรวมที่ใช้อำนาจภายนอกร่วมกัน
2.2 รัฐรวมหลายรัฐ
2.2.1 สมาพันธรัฐ
2.2.2 สหพันธรัฐหรือสหรัฐ
1.1 การจัดระเบียบราชการบริหารในประเทศสหพันธรัฐ ซึ่งไม่จำต้องมีราชการส่วนภูมิภาค
โดยทั่วไปโครงสร้างการจัดระเบียบราชการบริหารแผ่นดินของประเทศสหพันธรัฐ จะประกอบด้วย
1. รัฐบาลกลาง
2. มลรัฐ
3. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
ตัวอย่าง ประเทศสหพันธ์รัฐสาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา
การจัดระเบียบราชการบริหารของประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ
1.2 การจัดระเบียบราชการบริหารในประเทศรัฐเดี่ยว
ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว คือ ศูนย์รวมแห่งอำนาจอธิปไตยรวมอยู่ที่เดียว มีรัฐบาล สภานิติบัญญัติ และศาลในระดับประเทศเท่านั้น ไม่มีการแยกย่อยออกเป็นรัฐหลายๆ รัฐ
การจัดระเบียบราชการบริหารของประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว
1.2.1 รัฐเดี่ยว “สองชั้น” ที่ไม่มีราชการส่วนภูมิภาค
รัฐเดี่ยวที่ไม่มีราชการบริหารส่วนภูมิภาค ได้แก่ประเทศที่มีการจัดระเบียบราชการบริหารเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น
- อังกฤษ
- ญี่ปุ่น
1.2.2 รัฐเดี่ยว “สามชั้น” ที่มีราชการส่วนภูมิภาค
รัฐเดี่ยวที่มีราชการบริหารส่วนภูมิภาค ได้แก่ประเทศที่มีแบ่งระดับการปกครองเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
- ฝรั่งเศส
- ไทย
ลักษณะสำคัญของราชการบริหารในแต่ละระดับ
2. หลักการสำคัญในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
2.1 หลักการรวมอำนาจปกครอง (Centralisation)



2.2 หลักการแบ่งอำนาจปกครอง (Deconcentralisation)


2.3 หลักการกระจายอำนาจทางปกครอง (Decentralisation)

ไม่มีความคิดเห็น: